เมนู

พรรณนาคาถาว่า อารตี


บัดนี้ จะพรรณนาในคาถาว่า อารตี วิรตี นี้. ชื่อว่า อารมณะ
เพราะงด. ชื่อว่า วิรมณะ เพราะเว้น. อีกนัยหนึ่ง เจตนาชื่อว่า วิรติ
เพราะเป็นเครื่องที่สัตว์งดเว้น. บทว่า ปาปา ได้แก่จากอกุศล. ชื่อว่า มัชชะ
เพราะอรรถว่าเป็นที่ตั้งแห่งความเมา. การดื่มมัชชะ ชื่อว่า มัชชปานะ.
สำรวมจากมัชชปานะนั้น. ความระวังชื่อว่า สํยมะ. ความไม่ประมาทชื่อว่า
อัปปมาทะ. บทว่า ธมฺเมสุ ได้แก่ ในกุศลทั้งหลาย. คำที่เหลือมีนัยที่
กล่าวมาแล้วทั้งนั้นแล นี้เป็นการพรรณนาบท.
ส่วนการพรรณาความ พึงทราบดังนี้. ความไม่ยินดียิ่งทางใจอย่าง
เดียวของบุคคลผู้เห็นโทษในบาป ชื่อว่า อารติ. ความเว้นทางกายวาจา โดย
กรรมและทวาร ชื่อว่า วิรัติ.
ก็ธรรมดาวิรตินั่นนั้นมี 3 คือ สัมปัตตวิรัติ 1 สมาทานวิรัติ 1
สมุจเฉทวิรัติ 1.
บรรดาวิรัติทั้ง 3 นั้น วิรติเจตนางดเว้นจากวัตถุที่ประสบ
เข้าอันใดของกุลบุตร โดยนัยเป็นต้นอย่างนี้ว่า ข้อที่เราจะฆ่าสัตว์นี้ จะลัก-
ทรัพย์เป็นต้น เมื่อนึกถึงชาติตระกูล หรือโคตรของตน ก็ไม่สมควรแก่เรา
เลย วิรติเจตนางดเว้นอันนี้ชื่อว่า สัมปัตตวิรัติ. กุลบุตรไม่ทำบาปมีปาณาติบาต
เป็นต้น ตั้งแต่ประพฤติวิรัตอันใด วิรติอันนั้น เป็นไปโดยสมาทานสิกขาบท
ชื่อว่า สมาทานวิรัติ. ภัยเวร 5 ของพระอริยสาวกระงับไป ตั้งแต่ประพฤติ
วิรัติใด วิรตินั้นประกอบด้วยอริยมรรค ชื่อว่า สมุจเฉทวิรติ. บาปอกุศล
นั้นใด มี 4 อย่าง กล่าวคือกรรมกิเลส ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้พิษดาร
อย่างนี้ว่า ดูก่อนบุตรคฤหบดี กรรมกิเลส คือ ปาณาติบาต กรรมกิเลสคือ
อทินนาทาน ฯลฯ กรรมกิเลส คือ มุสาวาส ดังนี้แล้วทรงสังเขปไว้ด้วยคาถา
อย่างนี้ว่า